ภาษาพาที

‘ภาษาพาที’ กดคนจนต้องพอเพียง สะท้อนระบบการศึกษาที่หดหู่

กรณีนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้น ป.1-6 ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ภายหลังสังคมวิพากษ์วิจารณ์หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ภาษาพาที ระดับชั้น ป.5 ซึ่งมีเนื้อหาว่า กินไข่ต้มครึ่งซีก เหยาะน้ำปลา หรือข้าวเปล่าคลุกน้ำผัดผักบุ้ง ทำให้ตัวละครในหนังสือมีความสุข ถือเป็นการพอเพียง เห็นคุณค่าของชีวิต ทำให้สังคมตั้งคำถามถึงโภชนาการของเด็ก โดยหนังสือดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดทำขึ้นสำหรับนักเรียนใช้ฝึกทักษะ และสร้างนิสัยรักการอ่าน และครูผู้สอนใช้ในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 และไม่ได้บังคับให้โรงเรียนใช้ในการสอนนักเรียน โดย สพฐ.ได้ปรับปรุงหนังสือเรียนทุกๆ 10 ปี นั้น

เมื่อวันที่ 25 เมษายน ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา เปิดเผยว่า แบบเรียนดังกล่าวสะท้อนสิ่งที่ซ้อนเร้น และกดทับชีวิตคนจนหลายประเด็น จากที่ทำงานวิจัยโดยศึกษาลงลึกในครอบครัวที่ยากจนจำนวน 404 ครอบครัว พบข้อเท็จจริงที่น่าคิด คือครอบครัวมีรายได้ 1,134 บาท/ต่อเดือน แต่มีหนี้สิ้น 147,811 บาท จากข้อมูลนี้จะเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่เด็กจะไม่หลุดจากระบบการศึกษา นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่า คนกลุ่มนี้ยอมจำนนกับความยากจน คือรู้ตัวว่าเรียนไปก็ไม่มีสิทธิหลุดพ้นจากความยากจนได้ สู้ออกมาทำงานหาเงินดีกว่า ดังนั้น หนังสือแบบเรียนเล่มนี้ คือตัวสะท้อนให้อยู่กับความยากจน จะต้องพอเพียง และมีชีวิตอยู่กับความยากจนให้ได้ สิ่งเหล่านี้คือการยัดเหยียด กดทับ และทำให้คนยอมจำนนกับความยากจน

ภาษาพาที

ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวต่อว่า เรื่องดังกล่าวถือเป็นความซ่อนเร้นในระบบการศึกษา ที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็แล้วตาม ทำให้เราเห็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ตั้งแต่แบบเรียน หลักสูตร และอาหารกลางวัน เด็กยากจนมีอุปสรรคที่จะให้ออกจากระบบการศึกษาจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้ เป็นหลุมใหญ่ของระบบการศึกษา ที่คอยตอกย้ำว่าเด็กยากจนต้องอยู่แบบนี้ ต้องพอใจกับสิ่งที่มี ดังนั้น เราจะพบว่าระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ไม่ได้ทำให้เกิดโอกาส และสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษามากหนัก

ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวอีกว่า มองว่าแบบเรียนเล่มนี้ สะท้อนด้านหนึ่งของระบบการศึกษาที่สลด หดหู่ และทำให้เราเข้าใจว่าทำไมประเทศไทย ถึงมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสูงที่สุดในโลก เพราะแบบเรียนนี้ไม่ได้ช่วยดึงเด็กออกมาจากความจน แต่กลับบอกเด็กให้มีความสุขกลับสิ่งที่เป็นอยู่ แต่ในความจริง ใครที่อยู่แบบขัดสน ยากจน แล้วจะมีความสุข มองว่าการที่อยู่อย่างมีความสุข และพอเพียงได้ ต้องมีปัจจัยสี่ที่พอเพียง และมีชีวิตที่ไม่เดือดร้อน

“มองว่าการที่จะทำให้เด็กหลุดพ้นจากกรอบความคิดเรื่องนี้ ต้องฝึกให้เด็กรู้จักการตั้งคำถาม วิพากษ์เรื่องต่างๆ ได้ ครูจะทำอย่างไรให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจ เห็นคุณค่าของตน สามารถอยู่ต่อในระบบการศึกษา และลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนได้ ทั้งนี้ ผมพบว่าเด็กยากจนต้องใช้ความพยายามมากกว่าเด็กที่ฐานะปกติถึง 4 เท่า กว่าจะลากตัวเองให้จบการศึกษา และพ้นจากความยากจนได้ ดังนั้น จะต้องโละแบบเรียนเหล่านี้ทิ้ง และสังคายนาระบบหลักสูตร หนังสือแบบเรียนขึ้นใหม่” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ lesplacomusophiles.com

แทงบอล

Releated